วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไอซีทีกับประเพณี

 
ประเพณีรอยกระทง
การลอยกระทงของภาคกลางซึ่งเป็นที่มาของการลอยกระทงที่นิยมปฏิบัติกันทั้งประเทศนั้น มีหลักฐานว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีพระราชพิธี “จองเปรียงลดชุดลอยโคม” ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรียกพิธีนี้ว่า “ลอยพระประทีปกระทง” เนื่องจากโปรดให้ทำเป็นกระทงใหญ่ บนแพหยวกกล้วย ตกแต่งอย่างวิจิตรพิศดารประกวดประชันกัน แต่ในรัชกาลต่อมาก็โปรดให้เปลี่ยนกลับเป็นเรือลอยพระประทีปแบบสมัยอยุธยา ในสมัยพระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดให้เลิก พิธีนี้เสียเพราะเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง กระทงของภาคกลางมี ๒ ประเภทคือ กระทงแบบพุทธ เป็นกระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบกระบือ ก้านพลับพลึง ใบโกศล หรือวัสดุธรรมชาติที่หาได้ตามท้องถิ่นและประดับด้วยดอกไม้สดต่างๆ ภายในกระทงจะตั้งพุ่มทองน้อย ถ้ากระทงใหญ่จะใช้ ๓ พุ่ม กระทงเล็กใช้พุ่มเดียวและธูปไม้ระกำ ๑ ดอก เทียน ๑ เล่ม และวัสดุต่างๆตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น กระทงแบบพราหมณ์ วิธีการทำเช่นเดียวกับการทำกระทงแบบพุทธ จะแตกต่างกัน คือไม่ มีเครื่องทองน้อย บางท้องถิ่นจะมีการใส่หมากพลู เงินเหรียญ หรือตัดเส้นผมเล็บมือ เล็บเท้า เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปในตัว เป็นพิธีความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาพรามณ์ วัตถุประสงค์ของการลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญที่คนไทยได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ นิยมทำกันในวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเพณีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ๑เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพุทธมารดา ๒.เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ๓. เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ...



ที่มา http://www.loikrathong.net/th/History.php